วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

พนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา"



ตอนนี้ พวกเราทั้ง 10 ชีวิต นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู อยู่ที่โรงเรียนเรียบร้อยแล้วค่ะ
ทางโรงเรียนต้อนรับเราดีมากๆ ค่ะ แนะนำตัวพวกเราหน้าเสาธงด้วย นักเรียนน่ารักมากค่ะ
10 คนนี้ สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 คนค่ะ และสอนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน
2 คนค่ะ มีภาพกิจกรรมมาฝากค่ะ เป็นกิจกรรมที่พวกเราช่วยกันทำ และต้องคอยติดตามต่อไปน่ะค่ะ

มาดูโรงเรียนของเราดีกว่าค่ะ

โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีนักเรียน 2800 กว่าคนค่ะ
เป็นโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนแบบ MEP ด้วยค่ะ แต่ว่าพวกเราไม่ได้เข้าไปอยู่ตรงนั้น
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของเรา มีจำนวน 13 ห้องค่ะ (รวม MEP เป็น 14)
ส่วนนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลายมี 7 ห้องค่ะ

โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงค่ะ เป็นโรงเรียนที่มีคนอยากเข้าเรียนมากโรงเรียนหนึ่ง
ดังนั้นเราค่อนข้างจะเป็นโรงเรียนที่มีกิจกรรมที่พิเศษกว่าโรงเรียนทั่วไปค่ะ ทำให้เราได้รับประสบการณ์เยอะ

อย่างไรก็ตาม ก็ฝากไว้เท่านี้ แล้วเราจะเอาข้อมูลมาให้ชมบ่อยๆ ค่ะ

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Halloween




Halloween


เป็นวันสำคัญอันหนึ่งของคริสต์ศาสนา นิกายคาทอ ในคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิกHalloween เป็นคำภาษาอังกฤษ เพี้ยนมาจากคำ All Hallows Eve ซึ่งแปลว่าวันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย โดยวิธีตัดต่อ Hallow + Eve = Halloween คำ Hallow เป็นคำแองโกลแซกซัน แปลว่าคำให้ศักดิ์สิทธิ์ ตรงกับภาษาเยอรมันว่า heiligen นปัจจุบันนิยมใช้คำมาจากภาษาละตินว่า sanctify Hallow ยังแปลว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ศักดิ์สิทธิ์ นักบุญ คำ All Hallowmas จึงแปลว่า วันสมโภชนักบุญทั้งหลายในปัจจุบันใช้คำว่า All Saints Day คู่กับ Christmas ซึ่งแปลว่า วันสมโภชพระคริสต์หรือคริสต์มาสนั่นเอง วันก่อนวันสมโภชคริสต์มาสมี Chrismas Eve ที่นิยมเรียกว่า คืน (ก่อน) คริสต์มาส วันก่อนวันสมโภชนักบุญทั้งหลายก็มี All Hallowmas Eve ซึ่งต่อมาย่อเป็นHalloween โดยมีงานรื่นเริงและพิธีกรรมทางศาสนาเช่นเดียวกับคืนคริสต์มาสชาวคาทอลิกพร้อมใจกันเลื่อนพิธีกรรมทางศาสนาไปหลังวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย และเรียกว่า วันวิญญาณในแดนชำระ (All Souls Day) เพื่อให้คู่กับวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย (All Saints Day)



ทำไม วันฮาโลวีน ถึงเป็นวันที่ 31 ตุลาคม

เป็นความเชื่อของชาวเซ็ลต์ (Celt) เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองในประเทศอังกฤษ
โดยเชื่อว่าทุกวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปี จะเป็นวันที่ประตูนรกถูกเปิดขึ้นมา บรรจบกับมิติโลกมนุษย์กันอย่างพอดี ทำให้เหล่าวิญญาณพยายามหาทางเข้าสิงมนุษย์ ซึ่งวิธีการแก้ไขเพื่อป้องกันไม่ให้วิญญาณเข้าสิงคือ "การปลอมตัว" ทำตัวเป็นผีเสียเอง ด้วยการตกแต่งต่างๆ นานาให้ดูน่ากลัวที่สุด เทียนและระบบทำความร้อนก็จะถูกดับ เพื่อให้ร่างกายเกิดความหนาวเย็นเปรียบเสมือนร่างกายที่ไร้ซึ่งชีวิต ส่วนบ้านเรือนจะถูกตกแต่งให้ดูน่าสะพรึงกลัว และผู้คนต่างส่งเสียงเพื่อทำการขับไล่เหล่าวิญญาณชั่วร้ายอีกทีนึง ทั้งนี้ หลายคนต่างสงสัยว่าทำไมสัญลักษณ์ของวันฮัลโลวีน ถึงเป็นหัวฟักทองแกะสลักสีส้ม เจ้าฟักทองนั้นมีชื่อว่า Jack O Lanterns เป็นตำนานของชาวไอริช ที่เป็นนักมายากลขี้เมาและได้ทำข้อตกลงกับปีศาจตนหนึ่ง ในกรณีที่เขาเสียชีวิตแล้ว เขาขอเพียงแค่ไม่ไปทั้งสวรรค์หรือนรก เมื่อถึงคราวชีพจรดับปีศาจตนนั้นจึงมอบถ่านอันคุกรุ่นให้แก่ Jack เขาจึงนำไปใส่ไว้ในหัวผักกาดเพื่อคอยปัดเป่าความหนาวเย็น ต่อมาชาวไอรีชจึงแกะหัวผักกาด และนำถ่านมาใส่เช่นกันเพื่อเป็นสิริมงคลในการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายตลอดทั้งปี เมื่อกาลเวลาผ่านไปประเพณีดังกล่าวเริ่มแพร่หลายไปสู่ประเทศอเมริกา แต่หัวผักกาดเป็นสิ่งที่หายาก จึงนำลูกฟักทองมาแกะสลักแทน และนี่คือจุดเริ่มต้นของสัญลักษณ์สีส้ม และสีดำ ทั้งนี้ สีดำบ่งบอกถึงความมืดมิดช่วงเวลากลางคืน ส่วนสีส้มคือแสงสว่างที่ลุกโชติ เพื่อขับไล่ปีศาจนั่นเอง


วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ความสำคัญของภาษาไทย

ภาษาไทยเป็นภาษาที่เก่าเเก่ที่สุดในประเทศเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ มีรากฐานมาจากออสโตรไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภาษาจีนมีหลายคำที่ขอยืม มาจากภาษาจีน
พ่อขุนรามคำเเหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826 (ค.ศ.1283) มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทย ดัดเเปลงมาจากบาลีเเละสันสกฤต


ความสำคัญของภาษาไทยต่อคนไทย

คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง เเละมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเเสดงว่า ไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาเเต่โบราณกาลเเละยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปีเเล้วเเละจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย

ความสำคัญของภาษาไทยต่อคนไทย

คนไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง เเละมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเเสดงว่า ไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาเเต่โบราณกาลเเละยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปีเเล้วเเละจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย
ความสำคัญของภาษาไทยที่มีต่อชาติไทย
ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกัน เเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆเจริญขึ้น เเต่ละภาษามีระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยึดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ความเป็นชาติโดยเเท้จริง" ว่า "ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์เเน่นเเฟ้นกว่าสิ่งอื่น เเละไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือ เเน่นอนยิ่งไปกว่าภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้นรัฐบาลใดที่ต้องปกครอง คนต่างชาติต่างภาษาจึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนเเละออกบัญญัติบังคับให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง เเต่ความคิดเห็นเช่นนี้จะสำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้ เเต่ถ้ายังจัดการเเปลงภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็เเปลว่าผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้นเเละยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้อยู่ตราบนั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์เเน่นเเฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น"

ดังนั้น ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนไว้ได้ดีให้บริสุทธิ์ก็จะได้ชื่อว่ารักษาความเป็นชาติคนไทยทุกคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อความรู้สึกนึกคิดเท่านั้นยังไม่เพียงพอควรจะรักษาระเบียบความงดงามของภาษาซึ่งเเสดงวัฒนธรรมเเละเอกลักษณ์ประจำชาติไว้อีกด้วย ดังพระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งว่า "ภาษานอกจากจะเป็นเครื่องสื่อสารเเสดงความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วโลกเเล้วยังเป็นเครื่องเเสดงให้เห็นวัฒนธรรม อารยธรรม เเละเอกลักษณ์ประจำชาติอีกด้วย ไทยเป็นประเทศซึ่งมีขนบประเพณี ศิลปกรรมเเละภาษาซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาเเต่อดีตกาล เราผู้เป็นอนุชนจึงควรภูมิใจช่วยกันผดุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้อุตส่าห์สร้างสรรค์ขึ้นไว้ให้เจริญสืบไป "

แนะนำนักศึกษาฝึกสอน